วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (จังหวัดกรุงเทพมหานคร)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

"วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร" มีเอกลักษณ์อยู่ที่พระปรางค์ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี คำว่าอรุณในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า แสงยามพระอาทิตย์ขึ้น ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหารพระปรางค์

พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สง่าและโดดเด่นที่สุด ก่อสร้างโดยช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ บนพระปรางค์ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้ามาจากจีน ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นของเก่าแก่และหายาก โดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเข้าชมพระปรางค์วัดอรุณฯ ควรแต่งกายอย่างสุภาพ และใช้ความระมัดระวังในการเดิน เพราะบันไดค่อนข้างสูงและชัน และบางช่วงก็ค่อนข้างแคบ รวมถึงไม่ควรสัมผัสหรือทำการใด ๆ ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์พระปรางค์ทั้งสิ้น


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

จาการ์ตา (ประเทศอินโดนีเซีย)

เขาล้อมหมาก (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)

Trolltunga in Hordaland (ประเทศนอร์เวย์)