บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก สิงหาคม, 2019

อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย (จังหวัดนครราชสีมา)

รูปภาพ
"อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย" เป็นปราสาทหินทรงขอมโบราณแบบบาปวน ตั้งอยู่ในตัั้งอยู่ในอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วยปราสาทหินในสมัยอาณาจักรขะแมร์ที่ใหญ่โตและงดงาม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เพื่อใช้เป็นเทวสถานของศาสนาพราหมณ์ และเปลี่ยนเป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน ในเวลาต่อมา ปราสาทหินพิมาย สร้างขึ้นตามความเชื่อเกี่ยวกับสวรรค์ และโลกมนุษย์ ลักษณะผังของปราสาทหินพิมายนั้นสร้างขึ้นคล้ายเขาพระสุเมรุ มีองค์ปราสาทประธาน ซึ่งอยู่ใจกลางของเทวสถาน เป็นเสมือนทางเชื่อมระหว่างโลกกับสวรรค์ ปราสาทหินพิมาย เป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในอำเภอพิมาย และจังหวัดนครราชสีมา แหล่งโบราณคดีที่ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ ประกอบด้วยโบราณสถานสมัยขอมที่ใหญ่โตและงดงามอลังการนั่นคือ “ปราสาทหินพิมาย” แหล่งโบราณคดีที่ ทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ บนพื้นที่ 115 ไร่ วางแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 565 เมตร ยาว 1,030 เมตร ชื่อ“พิมาย” น่าจะมาจากคำว่า “วิมาย” หรือ “วิมายปุระ” ที่ปร

วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร (จังหวัดนครปฐม)

รูปภาพ
"วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีจุดเด่นที่สำคัญคือ องค์พระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ ซึ่งเป็นเจดีย์ที่ใหญ่และสูงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย พระปฐมเจดีย์ เป็นเจดีย์องค์ใหญ่ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงส่งสมณทูตมาเผยแผ่พระศาสนา นักปราชญ์ทางโบราณคดีเห็นพ้องกันว่า พระโสณเถระและพระอุตตรเถระ เป็นสมณทูตและมาตั้งหลักฐานประกาศหลักธรรมคำสอนที่นครปฐเป็นครั้งแรก ในพุทธศตวรรษที่ 3 และได้สร้างพระเจดีย์ทรงบาตรคว่ำ แบบเจดีย์สาญจิในประเทศอินเดียไว้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ขณะผนวช ได้เสด็จธุดงค์มานมัสการ ทรงเห็นเป็นเจดีย์ยอดปรางค์ สูง ๔๒ วา เมื่อทรงลาผนวช ได้เสวยราชสมบัติแล้ว ในราว พ.ศ. ๒๓๙๖ ได้โปรดให้ก่อพระเจดีย์ใหม่ห่อหุ้มองค์เดิมไว้ สูง ๑๒๐ เมตร กับ ๔๕ เซนติเมตร พร้อมสร้างวิหารคตและระเบียงโดยรอบ งานไม่ทันแล้วเสร็จก็สวรรคต  นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อเติมในครั้งนั้นแล้ว จนบัดนี้เป็นเวลาร

พระธาตุพนมวรมหาวิหาร (จังหวัดนครพนม)

รูปภาพ
"วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร" เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ประดิษฐาน ณ ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า (เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของปีวอกและผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ผลจากการ ขุดค้นทางโบราณคดี ลงความเห็นว่าพระธาตุพนมสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1200–1400 ตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคือ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์ 500 องค์ และท้าวพระยาเมืองต่าง ๆ ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้ ลักษณะ ของสถาปัตยกรรมมีแหล่งที่มาที่เดียวกันกับปราสาทของขอมและได้ทำการบูรณะเรื่อยมา ในปี พ.ศ. 2485 ได้รับการยกฐานะ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกขึ้นเป็น “วรมหาวิหาร” พระธาตุพนมไม่เพียงแต่เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวนครพนม เท่านั้

อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (จังหวัดสุโขทัย)

รูปภาพ
"อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย" ครอบคลุมพื้นที่โบราณสถานกรุงสุโขทัย ศูนย์กลางการปกครองของอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีอำนาจอยู่บริเวณภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18–19 ตั้งอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า (เขตเทศบาลตำบลเมืองเก่า) อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย ห่างจากตัวเมืองสุโขทัยปัจจุบัน (เขตเทศบาลเมืองสุโขทัยธานี) ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (ถนนจรดวิถีถ่อง) วัดชนะสงคราม ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดมหาธาตุ ใกล้กับโบราณสถานที่เรียกว่าหลักเมือง เดิมเรียกว่า วัดราชบูรณะ มีลักษณะเด่นคือ เจดีย์ทรงระฆังกลมขนาดใหญ่ เป็นเจดีย์ประธาน และมีวิหาร โบสถ์ เจดีย์รายต่าง ๆ   พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช  สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2518  ตั้งอยู่ริมถนนจรดวิถีถ่อง ทางทิศเหนือของวัดมหาธาตุ ลักษณะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระบรมรูปหล่อด้วยโลหะทองเหลืองผสมทองแดงรมดำ ขนาด 2  เท่าขององค์จริง สูง ๓ เมตร ประทับนั่งห้อยพระบาทบนแท่นมนังคศิลาบาตร พระหัตถ์ขวาถือคัมภีร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าทรงสั่งสอนประชาชน แท่นด้านซ้ายมีพานวางพระขรรค์ไว้

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย (จังหวัดสุโขทัย)

รูปภาพ
"อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย" เป็นอุทยานประวัติศาสตร์ของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ตำบลศรีสัชนาลัย อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย มีโบราณสถานทั้งหมด 283 แห่ง สำรวจค้นพบแล้ว 204 แห่ง รวมทั้งสุสานวัดชมชื่นและเตาสังคโลกโบราณ ในปัจจุบันจากการประเมินของกรมศิลปากร นับว่ามีการต่อเติมโบราณสถานจากสภาพเดิมน้อยกว่าที่ใด ยังคงรักษาภูมิทัศน์ของเมืองประวัติศาสตร์ไว้ได้ครบถ้วน วัดเขาพนมเพลิง ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมเพลิงภายในกำแพงเมือง มีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงกลม และมณฑปก่อด้วยศิลาแลง ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกพื้นสูง หลังคาโค้งแหลม มีบันไดทางขึ้นสู่มณฑป ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าแม่ละอองสำลี  ส่วนทางขึ้นวัดสามารถขึ้นได้ 2 เส้นทาง คือ จากด้านหน้าวัดแก่งหลวง และด้านข้างวัดซึ่งทางขึ้นได้ทำเป็นบันไดศิลาแลง ระหว่างทางขึ้นทั้งสองด้านมีศาลาที่พักด้วย   วัดเขาสุวรรณคีรี อยู่ทางทิศตะวันตก ถัดจากเขาพนมเพลิงไปประมาณ 200 เมตร โดยตั้งอยู่บนเขาอีกยอดหนึ่งในเทือกเขาเดียวกัน กลุ่มโบราณสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์ประธานทรงกลมองค์ระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยศิลาแลง ฐานเขียงใหญ่    5 ชั้น ใช้สำหรับเ

น้ำตกทีลอซู (จังหวัดตาก)

รูปภาพ
"น้ำตกทีลอซู" ตั้งอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก ห่างจากที่ทำการเขตฯ 3 กิโลเมตร ทีลอซู เป็นภาษากะเหรี่ยง แปลว่า น้ำตกดำ มีลักษณะเป็นน้ำตกภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนความสูงจากระดับน้ำทะเล 900 เมตร เกิดจากลำห้วยกล้อท้อ ลำน้ำทั้งสายตกลงสู่หน้าผาสูงชัน มีน้ำไหลแรงตลอดปี ความกว้างของตัวน้ำตกประมาณ 500 เมตร ไหลลดหลั่นเป็นชั้น ๆ มีความสูงประมาณ 300 เมตร ล้อมรอบไปด้วยป่าดงดิบที่สมบูรณ์ เป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 6 ของเอเชีย การเดินทางท่องเที่ยวน้ำตกทีลอซูหลังจากมาถึงจุดกางเต้นท์แล้ว จะมีเส้นทางเดินไปยังน้ำตก ระยะทาง 1.5 กม. เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติผ่านป่าไผ่และป่าเบญจพรรณ  ระหว่างทางมีป้ายสื่อความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติและ พืชพันธุ์ตามจุดต่างๆ ให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษา เมื่อถึงบริเวณน้ำตก จะเห็นละอองน้ำฟุ้งกระจายไปทั่วโขดหินเบื้อง ล่าง มองเห็นธารน้ำตกลงมาจากผาหินปูนซึ่งอยู่สูงประมาณ300ม. ตามแนวกว้างกว่า500 ม. ท่ามกลางป่าครึ้มอาจ แบ่งธารน้ำตกได้เป็นสามกลุ่ม คือกลุ่มด้านซ้ายมือ (เมื่อหันหน้าเข้าหาน้ำตก) เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดสูงที่สุด และเป็

น้ำตกเอราวัณ (จังหวัดกาญจนบุรี)

รูปภาพ
"น้ำตกเอราวัณ" ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำบลท่ากระดาน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานประมาณ 500 เมตร มีความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 100 - 400 เมตร แบ่งเป็นชั้นต่างๆ 7 ชั้น มีระยะทางจากชั้นล่างสุดขึ้นไปชั้นบนสุด 1500 เมตร ลำน้ำเมื่อตกลงมาแล้วจะไหลลงแม่น้ำแควใหญ่บริเวณที่ทำการอุทยาน เดิมน้ำตกนี้ชาวบ้านเรียกว่า น้ำตกสะด่องม่องลาย อันเป็นชื่อลำห้วยม่องลายที่เป็นต้นน้ำ โดยบริเวณน้ำตกจะมีน้ำตลอดปี แต่จะมีน้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง ราวเดือนธันวาคมถึงเมษายน ชั้นแรก ไหลคืนรัง เป็นจุดเริ่มต้นของการเดินเข้าสู่อ้อมกอดของธรรมชาติ สายน้ำในชั้นแรกนี้ จะไหลลดหลั่นกันเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนั่งรับลมและพักผ่อน ในชั้นนี้นั้นยังมีที่นั่งให้ผู้ที่มาเที่ยวได้นำอาหารมานั่งรับประทานร่วมกัน รวมทั้งยังมีร้านขายอาหารและน้ำดื่มที่ทางอุทยานมีให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการด้วย ชั้นที่ 2 วังมัจฉา แค่ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่ามัจฉา แน่นอนว่าชั้นนี้จะต้องเป็นที่อยู่ของเจ้ามัจฉามากหน้าหลายตัวทีเดียว และเดินจากชั้นแรกมาแค่นิดเดียวเท่านั้น รับประกันได้เลยว

วัดร่องขุน (จังหวัดเชียงราย)

รูปภาพ
"วัดร่องขุ่น" เป็นวัดพุทธ ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย ออกแบบและก่อสร้างโดย เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จนถึงปัจจุบัน โดยเฉลิมชัยคาดว่างานก่อสร้างวัดร่องขุ่นจะไม่เสร็จลงภายในช่วงชีวิตของตน วัดร่องขุ่นถอดแบบมาจากวัดมิ่งเมือง จังหวัดน่าน ด้วยแรงปณิธานที่มุ่งมั่นรังสรรค์งานศิลปะที่งดงาม แปลกตา ผสานวัฒนะ ธรรมล้านนา อย่างกลมกลืน ทั้งลวดลายปูนปั้นประดับกระจกและจิตรกรรรมฝาผนัง ขนาดใหญ่ ลักษณะเด่นของวัด คือ พระอุโบสถถูกแต่งด้วย ลวดลายกระจกสีเงินแวววาวเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับ ด้วยพญานาคมีงวงงาดูแปลกตา ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถเป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง  

วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรมหาวิหาร (จังหวัดเชียงใหม่)

รูปภาพ
"วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร" พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย วัดมีความสูงจากระดับที่ราบเชียงใหม่ราว 689 เมตร และมีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,046 เมตร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญมากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ก่อสร้างตามแบบศิลปะล้านนา มีเจดีย์ทรงเชียงแสน ฐานสูงย่อมุมระฆังทรงแปดเหลี่ยมปิดด้วยทองจังโก 2 ชั้น ลานเจดีย์เป็นจุดชมทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ทางขึ้นเป็นบันไดนาคเจ็ดเศียรก่อปูน นอกจากนี้ ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพยังมีการจัดงานประเพณีเตียวขึ้นดอย เพื่อสักการะพระบรมสารีริกธาตุเป็นประจำทุกปี โดยจัดขึ้นในช่วงวันวิสาขบูชา ในงานจะมีขบวนแห่น้ำสำหรับสรงพระธาตุ โดยมีพระสงฆ์ สามเณร และพุทธศาสนิกชนจากชุมชนต่างๆ มาร่วมขบวนกันอย่างเนืองแน่น

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (จังหวัดกรุงเทพมหานคร)

รูปภาพ
"วัดสระเกศ" เป็นวัดโบราณในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า"รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร"ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า"ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่า ๆ กันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า 'วัดสระเกศ' ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที

วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร (จังหวัดกรุงเทพมหานคร)

รูปภาพ
"วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร" มีเอกลักษณ์อยู่ที่พระปรางค์ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา ที่ชื่อวัดแจ้ง เพราะ พระเจ้าตากฯ ทำศึกเสร็จ แล้วยกทัพกลับมาเป็นเวลาเช้าพอดี คำว่าอรุณในภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า แสงยามพระอาทิตย์ขึ้น ว่ากันว่าเดิมเรียกว่า วัดมะกอก และกลายเป็นวัดมะกอกนอกในเวลาต่อมา เพราะได้มีการสร้างวัดขึ้นอีกวัดหนึ่งในตำบลเดียวกัน แต่อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ชาวบ้านเรียกวัดที่สร้างใหม่ว่า วัดมะกอกใน (วัดนวลนรดิศ) แล้วจึงเรียกวัดมะกอกซึ่งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ว่า วัดมะกอกนอก ส่วนเหตุที่มีการเปลี่ยนชื่อเป็นวัดแจ้งนั้น เชื่อกันว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงตั้งราชธานีที่กรุงธนบุรีใน พ.ศ. 2310 ได้เสด็จมาถึงหน้าวัดนี้ตอนรุ่งแจ้ง จึงพระราชทานชื่อใหม่ว่าวัดแจ้ง แต่ความเชื่อนี้ไม่ถูกต้อง เพราะเพลงยาวหม่อมภิมเสน วรรณกรรมสมัยอยุธยาที่บรรยายการเดินทางจากอยุธยาไปยังเพชรบุรี ได้ระบุชื่อวัดนี้ไว้ว่าชื่อวัดแจ้งตั้งแต่เวลานั้นแล้ว พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สง่าและโดดเด่นที่สุด ก่อสร้างโดยช่างฝีมือที่มีความเชี่

วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม (จังหวัดกรุงเทพมหานคร)

รูปภาพ
"วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม" เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้วทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือวัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปีพ.ศ. 2331 ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ 2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ" ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาร

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (จังหวัดกรุงเทพมหานคร)

รูปภาพ
"วัดพระศรีรัตนศาสดาราม" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ (ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส เรียกว่าเป็นวัดที่สำคัญและเป็นที่เชิดหน้าชูตาของบ้านเมือง ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย สำหรับ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว  พระอารามหลวงชั้นพิเศษ ที่ตั้งอยู่ตรงมุมด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพระบรมมหาราชวัง อีกทั้งยังเป็นที่ประดิษฐาน พระมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต รวมถึงใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เป็นวัดที่สร้างขึ้นในเขตพระบรมมหาราชวัง ตามแบบวั

ทะเลบัวแดง (จังหวัดอุดรธานี)

รูปภาพ
"ทะเลบัวแดง" ตั้งอยู่ในอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี อยู่ในบึงน้ำจืด บึงหนองหาน แหล่งน้ำธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ไป ด้วย พันธุ์ปลา พันธุ์นก และพืชน้ำ จำนวนมาก โดยดอกบัวจะออกดอกมีปริมาณมากที่สุดในช่วงเดือนธันวาคม – กุมภาพันธ์ และค่อย ๆ ลดปริมาณ ลงในเดือนมีนาคม ดอกบัวจะบานในช่วงเช้าตรู่จนถึงเวลาประมาณ 11.00 น. นักท่องเที่ยวจะมองเห็น ดอกบัวแดง บานเต็มท้องน้ำ หนองหานสุดลูกหูลูกตางดงาม อย่างหาที่เปรียบไม่ได้ จึงเป็นที่มาของคำว่า ทะเลบัวแดง ซึ่งในทุกปี นักท่องเที่ยว สามารถความงดงามของทะเลบัวแดง หนองหานกุมภวาปี ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เดือนธันวาคม จนถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี  มีงานเทศกาลทะเลบัวแดงบาน หนองหานกุมภวาปี ณ วัดบ้านเดียม ตำบลเชียงแหว อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี การนั่งเรือชม ทะเลบัวแดง ที่นี่ต้องนับว่าเป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่ แม้จะมีเวลาให้ชมอย่างจำกัด (ราวๆ 45 นาที- 1 ชั่วโมงครึ่ง ตามแต่ประเภทของเรือที่เราเลือก) และหากดูเผินๆ เหมือนวิวรอบๆ ตัวจะมีแต่ดอกบัวสีแดงๆ แต่หากใช้หัวใจสัมผัสเพิ่มเติมจากสองตา จะเห็นความแตกต่างหลากหลายของบัวที่เติบโต เห็นนกกระสา นกกระย

สามพันโบก (จังหวัดอุบลราชธานี)

รูปภาพ
"สามพันโบก" เป็นแก่งหินหรือกุมภลักษณ์ที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง ในอำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เกิดจากแรงน้ำวนกัดเซาะ กลายเป็นแอ่งมากกว่า 3,000 แอ่ง และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง จนชาวบ้านเรียกว่า แกรนแคนยอนน้ำโขง ซึ่งจะปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณเดือนตุลาคม - พฤษภาคม ซึ่งหลังจากนั้นจะมีน้ำหลากมาท่วมโบกเหล่านั้นจมหายไปอยู่ใต้แม่น้ำ แก่งสามพันโบก เริ่มเป็นที่รู้จักและปรากฎสู่สายตานักท่องเที่ยวเมื่อโฆษณาของ ท.ท.ท. ชุดพี่เบิร์ด เริ่มออก ฉายภาพสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นฉากจบของโฆษณาชุดนี้จึงกลายเป็นคำถามว่า ที่ไหนกัน เมืองไทยมีที่แห่งนี้ด้วย นับแต่นั้นมา แก่งสามพันโบก จึงกลายเป็น สถานที่ท่องเที่ยวที่รู้จักและได้รับความนิยม "โบก" หรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ ลำน้ำโขง  และคำว่า “โบก”  เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และจะปรากฏให้เห็นในช่วงฤดูแล้งที่น้ำแห้งขอด แก่งหินดังกล่าวก็จะโผล่พ้นน้ำกลายเป็น ความมหัศจรรย์ทางธรรมชาติสุดอลังการกลางลำน้ำโขง ที่สวยงาม แปลกตา จนชาวบ้านเรียกว่า แ